วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กระแสธารน้ำใจ หลั่งไหลจากทั่วโลก

กี่ครั้งกี่ครา.....ที่พายุนั้นได้เข้ามาทำลายมนุษยชาติ นำมาซึ่งความเสียหายมากจนไม่สามารถตีราคาออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของทางจิตใจ เศรษฐกิจ ความมั่นคงทางด้านการเมือง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความมั่นคงและสงบสุข แต่มนุษย์เรานั้นก็ยังไม่หยุดที่จะทำลายธรรมชาติ จึงไม่แปลกที่ธรรมชาติจะมาทวงคืนในสิ่งที่สูญเสียไป ....





เมื่อ .... บ้านเมืองได้ถูกทำลายอย่างไม่ได้ตั้งใจโดยฝีมือของผู้ที่คาดการณ์ไม่ได้อย่างธรรมชาตินั้น ความเสียหายที่เกิดตามมานั้นจึงไม่สามารถคาดการณ์ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดกับเพื่อนบ้านของเรา พายุไซโคลนนาร์กิส .....




พายุไซโคลนนาร์กิสได้พัดถล่มเข้าที่เมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า ประชาชนจำนวนหลายล้านคนประสบกับความทุกข์ยากลำบากอย่างหนัก นี่ยังไม่ได้รวมถึงผู้เสียชีวิตและก็ผู้สูญหาย อีกทั้งพื้นการเกษตรที่เคยใช้ประกอบอาชีพก็เสียหายหมด แล้วใครกันเล่า ที่จะสามารถรับผิดชอบเรื่องนี้ได้ นอกเสียจากรัฐบาลของประเทศพม่า


ในช่วงเวลาที่ประเทศพม่าถูกพายุไซโคลนนาร์กิสถล่มนั้นเกิดได้ความวุ่นวายภายในประเทศพอสมควร เนื่องจาก ณ ช่วงเวลานั้นประเทศพม่าได้จัดการเลือกตั้งลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆนั้นไม่ได้รวดเร็วและฉับพลันพอ ส่งผลให้การกู้ภัยต่างๆดำเนินไปอย่างช้าๆ นานาประเทศและยูเอ็นจึงไม่รอช้าที่จะส่งความช่วยเหลือ แต่ก็ต้องรอต่อไปเนื่องจาก ณ ตอนนั้น รัฐบาลยังไม่อนุญาตให้ผ่านวีซ่าเข้าไปได้ .......



ประเทศไทยเราเองก็ไม่รอเฉย ............. น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย น.พ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ ภก.วันชัย ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) พร้อมด้วย พล.อ.ท.มานิต สุพันธุพงษ์ รองเสนาธิการทหารอากาศ เดินทางไปอำนวยการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์การแพทย์ ไปให้การช่วยเหลือประเทศพม่า ประกอบด้วย ยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมน้ำหนัก 30 ตัน มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มบรรจุขวด เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม จากสภากาชาดไทย อีก 12 ตัน แถมด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มอบเงินสนับสนุน 5 แสนดอลลาร์, บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) มอบเงิน 2 แสนดอลลาร์ พร้อมน้ำมันดีเซล 1 แสนลิตร รวมทั้งวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มอบเงิน 2 แสนดอลลาร์ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่วิศวกรไปช่วยกู้ระบบไฟฟ้าให้สามารถดำเนินการได้ตามปกติ รวมถึงช่วยเหลืออุปกรณ์ในการติดตั้งไฟฟ้า ฯลฯ
เห็นไหมคะ........แม้ว่าการขอวีซ่าเพื่อผ่านแดนเข้าไปในพม่านั้นจะยากลำบากแค่ไหน แต่น้ำใจของมวลมนุษย์นั้นที่ส่งไปถึงผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนยังไม่หยุดสิ้น......